อภิสิทธิ์เป็นนักการเมืองสมบูรณ์แบบ

ศาสตราจารย์ชาวดัทช์ท่านหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญงานศึกษาด้านวิทยาศาสตร์มือหนึ่งในสิบของโลกหลากสาขา โดยเฉพาะสัตว์ทะเลและคาบเกี่ยว ที่ปัจจุบันวัยแปดสิบกว่า เกิดและโตมาในช่วงสงครามโลก เป็นทั้งครู เพื่อนร่วมงานและเป็นพ่อในทางวิทยาศาสตร์สำหรับผม ช่วงหลายปีที่ร่วมงานกันเราพูดคุยแลกเปลี่ยนในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม ศาสนา การเมือง หรือแม้แต่เรื่องขำ ๆ

เคยบอกกับผมว่านักการเมืองที่ไหน ๆ ก็เหมือนกัน ล้วนแต่ “โกหก” ในวัยหนุ่มกว่านี้ผมไม่ค่อยเข้าใจความหมายมากนัก เพราะติดมายาว่าการเมืองในประเทศของเขาและในซีกโลกตะวันตกน่าจะดีกว่าความโสมมในบ้านเรา จนโตและเห็นบริบทการเมืองโลกตามที่เป็นจริงมากขึ้น จึงเห็นสิ่งที่พูดว่าเป็น “สัจจะ”

ช่วงเวลาประมาณหนึ่งเดือนที่ผ่านมาพิสูจน์สัจจะนี้ซ้ำ ๆ อย่างนับครั้งไม่ถ้วน ผ่านตัวเอกที่ภาพดีมากจนเหลือเชื่อ คือ ตัวนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยชาติตระกูล การศึกษา ภาพลักษณ์ บุคลิกท่าที การพูดจาที่ดูเหมือนจะมีเหตุผล มีน้ำหนัก น่ารับฟัง น่าเชื่อถือ

หากไม่ได้ติดตามและรู้จริงในสิ่งที่บุรุษหนุ่มผู้นี้พูด ฉาบฉวยผิวเผินไปตามข่าวก็คงไม่ยากจะหลงไหลคล้อยตาม ทั้งที่การให้เหตุผล คำอธิบายแต่ละครั้งนั้นแทบไม่อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน เป็นเหตุเป็นผลที่ผลิตใหม่ตามกรรมตามเวลา และตามการถูกจับได้ไล่ทัน

กรณีการแก้รัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดนี้อาจเป็นตัวอย่างอธิบายพฤติกรรมได้ชัดเจนอย่างมาก ที่เมื่อต้นปีพูดไว้อย่างหนึ่งว่าไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนระบบเขตเลือกตั้งและจะต้องมีการทำประชามติฟังเสียงประชาชนก่อน ครั้นพอถึงปลายปีกลับให้เหตุผลที่กลับด้านไปโดยสิ้นเชิง ยกข้ออ้างแบบข้าง ๆ คู ๆ ว่า ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยบ้าง กลัวว่าจะถูกกล่าวหาว่าถ่วงเวลาบ้าง หรือคณะกรรมการที่ตัวเองตั้งขึ้นมาแล้วหากไม่ทำตามต่อไปเขาก็ไม่ทำให้ แต่นั่นก็ลักลั่นเลือกมาตามอำเภอใจแค่ ๒ ประเด็นจาก ๖ ประเด็น

Continue


Posted in ทัศนะ

|

Tagged

|
Comments Off

ภาพชุมนุมคัดค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๓ พฤศจิกา ๕๓

วานนี้ (๒๓ พฤศจิกายน) เป็นวันแรกของการประชุมร่วมสองสภาเพื่่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในสองมาตรา และเป็นวันแรกที่พันธมิตรฯ เคลื่อนไหวเพื่อชุมนุมคัดค้านที่หน้ารัฐสภา เจ๊หน่อย นิม และผม นัดหมายไปร่วมชุมนุมครั้งนี้ซึ่งเป็นจุดยืนเดิมตั้งแต่ครั้งชุมนุม ๑๙๓ วัน และนับครั้งแรกในรอบสองปีที่หยิบเสื้อผ้าเดิม ๆ มือตบอันเดิม ๆ ที่มีอายุกว่าสองปีกลับมาใช้งานอีกครั้ง แม้เพื่อนเก่าที่เหมือนจะมีทิศทางใกล้เคียงกันอย่างประชาธิปัตย์เมื่อครั้งนั้น บัดนี้ยึดหลักการใหญ่คือประโยชน์ตัวเอง แก้มาตรา ๑๙๐ เพื่ออำนวยความสะดวกในการ “ขายชาติ” โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และพ่วงประโยชน์พรรคร่วมในการแก้ระบบเขตเลือกตั้ง เพื่อหนีเหตุการณ์เฉพาะหน้าแล้วกลับมารวมตัวกันใหม่ จังไรกว่าเดิม เหตุนี้ พวกเราที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตลอดสองปีที่ผ่านมา จึงต้องกลับมาที่เดิม

move-constitution06

เมื่อวานอากาศอบอ้าวมาก เล่นเอาสะบักสะบอมไปตาม ๆ กัน ร้อนจนแทบลิ้นหอย (แต่ปากไม่ห้อย) กันเลยทีเดียว นิมและผมถ่ายภาพบรรยากาศเมื่อวานมาฝากสำหรับท่านที่ไม่ได้ไปร่วมเมื่อวานนี้

Continue


Posted in ภาพ, ความเคลื่อนไหว

|

Tagged , ,

|
3 ความเห็น

ไกลกว่านั้น

ApisitTodayสิ่งที่จะเขียนอาจเป็นความคับแคบ ความไม่รู้ ความอ่อนด้อย หรือความโง่เขลาเฉพาะตัวของผมเองก็เป็นได้ ทั้งอาจเป็นความที่ไม่เคยอยู่ในอำนาจ ไม่คิดมีอำนาจ ไม่ได้อยู่ในวงจรโสมมของการเมือง สัมผัสกับสิ่งปฏิกูลที่เรียกว่า “ท่านผู้ทรงเกียรติ” และ “รัฐมนตรี” ตัวอักษรที่ถ่ายทอดความคิดนับจากบันทัดนี้อาจผิดทั้งหมดก็เป็นได้

หลังสิ้นการชุมนุม ๑๙๓ วัน และการขึ้นมีอำนาจของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากแก๊งการเมืองประชาธิปัตย์ ดูค่อนข้างสอดคล้องกับทิศทางการเมืองโลกที่เข้าสู่ยุคการผลัดเปลี่ยนผู้นำเป็นคนรุ่นใหม่ กระแสอาจเริ่มที่ประเทศล้มละลายและอันธพาลโลกอย่างอเมริกา เพียงแต่ผมไม่มี “ความเชื่อ” ว่าบรรดาผู้นำเหล่านี้มี “ความสามารถ

มองว่าทั้งหมดเป็นแต่เพียง “มายาภาพ” ที่ถูกสร้างเป็นกระแสผ่านวาทกรรมและการโฆษณาชวนเชื่อ

ในวันที่นายอภิสิทธิ์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สุนทรพจน์แรกและกฎเหล็ก ๙ ข้อ ต่างได้รับการสรรเสริญ ทั้งประวัติเรียงความเมื่อวัยเยาว์ หรือคำบอกเล่าของพี่สาวที่บอกว่าน้องชายซื้อเสื้อผ้าเองไม่เป็น เป็นคนสมถะมาก ผมอาจจะเป็นเพียงคนส่วนน้อยที่ “ตั้งแง่” (โปรดย้อนอ่านบทความเก่า ๆ ) และมองว่าคนนี้คงไม่สามารถพาบ้านเมืองรอด เพราะขาด “สิ่งจำเป็น” หลายอย่างที่ผู้นำพึงมี

Continue


Posted in ทัศนะ

|

Tagged

|
7 ความเห็น

ครึกครื้น สุดประทับใจกับคลาสสิคคัล คิดส์

ในฐานะเป็นคนหลังกล้องถ่ายรูป เก็บภาพคอนเสิร์ตของบางกอกโอเปร่าหรือชื่อใหม่ “โอเปร่าสยาม” มาร่วม 5– 6เดือน ทุกครั้งคือความประทับใจ เป็นความประทับใจที่แตกต่างแต่ละครั้ง ยากจะบอกว่าครั้งไหนคือที่สุด ก่อนนี้ไม่เคยฟังเพลงคลาสสิคและจากที่ไม่คิดว่าจะฟังเพลงรูปแบบนี้ได้ แม้ไม่อาจจะกล่าวอ้างได้ว่าเข้าถึงหรือลึกซึ้ง แต่ยืนยันได้อย่างหนึ่งว่าเพลงคลาสสิคเป็นสุนทรีย์ที่สัมผัสได้ไม่ยาก ถ้าจะมีคอนเสิร์ตเพลงคลาสสิคสำหรับเด็กก็คงมีคำถามตัวใหญ่ ๆ สำหรับหลาย ๆ คนว่า เห็นท่า “ลิงจะหลับ” แต่ “Klassikal Kidz” เป็นอะไรที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและความประทับใจ งานคอนเสิร์ตเพลงคลาสสิคที่บรรจงสร้างสำหรับเด็กโดยโอเปร่าสยาม โดยเฉพาะไมสโตร สมเถา สุจริตกุล  กับความตั้งใจที่จะมอบคอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นความสุขให้กับเยาวชนทั้งจากมูลนิธิศุภนิมิตร เยาวชนที่ประสบภัยน้ำท่วม และเยาวชนผู้สนใจอื่น ๆ เป็นดนตรีที่บรรเลงโดยเด็ก และเพื่อเด็ก

น้องพลอย เอริกา งามเคราะห์ Bach’s Concerto

คอนเสิร์ตครั้งนี้มีน้อง ๆ เยาวชนเดินทางมารับชมจากหลายที่ อาทิเช่น น้อง ๆ จากโครงการศุภนิมิตร (World Vision) น้อง ๆ จากโคราช และจากที่อื่น ๆ หลายร้อยชีวิต รวมถึงน้อง ๆ จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี (ลาดหลุมแก้ว) ซึ่งเป็นควันหลงจากค่ายเยาวชน Bach to the future เมื่อเดือนที่แล้วชักชวนเพื่อน ๆ มาอีกร่วมร้อย

Continue


Posted in ภาพ, ดนตรีการ

|

Tagged

|
5 ความเห็น

KLASSIKAL KIDZ

klassikalkidz3small

KLASSIKAL KIDZ
รายการดนตรีคลาสสิค บรรเลงโดยเด็ก… เพื่อเด็ก…
Bach’s Concerto for two violin (first movement)
เอริกา งามเคราะห์ – ธนายุทธ์ จันทรสิริวรกุล
คีตนิพนธ์ โดย ณัฐพงศ์ ยุทธนาสิริกุล บรเลงรอบปฐมทัศน์โลก
เพลงเอกจากมหาอุปรากร A Boy and a Tiger
Hayden’s Symphony No. 104 (LONDON)
Saint-Saens’ Carnival of the Animals
พร้อมบรรยาย โดย แอนดรูว์ บิ๊กส์
ฯลฯ

โชเนนไทย ควอร์เตท
สยามซินโฟนิเอตต้า
อำนวยเพลงโดย ไมสโตร สมเถา สุจริตกุล

——-

Franz Joseph Haydn | ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิ้น
hoppnerฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิ้น (Franz Joseph Haydn) คีตกวีชาวออสเตรีย เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2257 ที่หมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ โรห์เรา ทางภาคใต้ของประเทศออสเตรีย เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 12 คนของครอบครัวชาวนายากจนแต่รักดนตรี ไฮเดิ้นรักการร้องเพลงตั้งแต่เด็ก  เขาเป็นนักร้องประสานเสียงประจำโบสถ์เซนต์ สตีเฟน แห่งเวียนนา ตั้งแต่อายุ 8 ปี และอยู่นานถึง 9 ปีจนเสียงเริ่มเปลี่ยน จึงต้องลาออกจากคณะ

ขณะที่ไฮเดิ้นยังเป็นเด็กเล็ก โจฮันน์ แมตเธียส แฟรงก์ ญาติห่างๆ ของบิดาไฮเดิ้นซึ่งเป็นนักดนตรียิ่งใหญ่และอาจารย์สอนดนตรีมีชื่อแห่งไฮน์เบอร์กแวะมาเยี่ยมครอบครัวไฮเดิ้นที่โรห์เรา   เมื่อได้ฟังเสียงหลานชายร้องเพลง  เขากล่าวว่าเด็กน้อยคนนี้จะมีชื่อเสียงมากในอนาคตอย่างแน่นอนหากได้รับการฝึกฝนอย่างถูกวิธี

แต่ไฮเดิ้นก็ยากจนเกินกว่าจะก้าวเดินบนเส้นทางดนตรีอย่างสง่างาม เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขาไม่มีเงิน ไม่มีบ้าน จึงต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการร้องเพลง เล่นฮาร์ปสิคอร์ดและสอนดนตรี พร้อมกันนั้นก็ฝึกฝนและเรียนดนตรีอย่างต่อเนื่องจนสามารถแต่งเพลงได้ และในที่สุดได้เป็นผู้นำวงออร์เคสตร้าของเคานต์ มอร์ซิน แห่งโบฮิเมีย

Continue


Posted in ดนตรีการ

|

Tagged

|
Comments Off