Tag Archives: พลังนอมินี

เพลง ‘รัฐบวยหัวคาน’ เวอร์ชั่น ๒

มันพะยะค่ะ เย็นวันวานนี้สำหรับเพลง เพลง ‘รัฐบวยหัวคาน’ ที่แต่งโดย วสันต์ สิทธิเขตต์ มี “เชษฐ์ สไมล์บัฟฟาโล่” เป็นมือกลองอย่างมัน (ก่อนนี้เดี่ยวกลองและร้องเองไปรอบนึง) เวอร์ชั่นนี้มีดนตรีน้อยชิ้น แค่กลอง ขลุ่ยกับกีต้าร์สายขาด แต่เป็นแร็พของนักร้องเพื่อชีวิตที่ถึงใจจริงๆ โปรดรับชมเพื่อความบันเทิง  เนื้อเพลงที่พอจะแกะได้ครับ


Posted in วีดีโอ

|

Tagged , , , ,

|
4 ความเห็น

ใบเสร็จเขาพระวิหาร

หากย้อนกลับไปเมื่อครั้งปลายรัฐบาล “ยุทธ์ เขายายเที่ยง” ที่ประชุมสภากลาโหมทะลุกลางปล้องขึ้นมาเรื่องการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกลับท่าที่ในวันพรุ่ง แม้มีการกลับท่าทีก็ตามแต่เป็นการ “ปลุก” สายตาของหลายคนให้หันไปจับจ้อง ประเด็นอยู่พ้นคำถามที่ว่า “เขาพระวิหารเป็นของใคร” เพราะเรื่องนี้จบในแง่กฏหมายระหว่างประเทศมาหลายสิบปี และผมไม่ชวนถกเถียง ปัญหาอยู่ที่อาณาบริเวณรายรอบ ๔-๑๐ ตารางกิโลเมตร ที่เป็นเขตอุตยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ที่จะถูกผนวกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการขึ้นทะเบียน โดยฝ่ายทหารและหลายภาคส่วนแสดงความกังวลว่านี่จะเป็นการนำไปสู่ “การเสียดินแดน” ครั้งที่ ๑๕ ขณะที่หลายฝ่ายทุกทักท้วง ทางถามแต่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนไม่แสดงความกระตือรื้อร้นใดที่จะตอบคำถาม เคลื่อนไหวใดที่จะคลายความสงสัยของสังคม ซ้ำทำตัวประหนึ่ง “หรี่ตาให้เขมร” จนถูกตั้งถามในทำนองว่ามีการแปลกเปลี่ยนผลประโยชน์อะไรกันอย่างไร ชี้เป้าไปที่การเดินทางไปเล่นกอล์ฟที่เขมรของผู้ต้องหาคดีอาญาแผ่นดินเชื่อมโยงไปที่ผลประโยชน์ในการขุดเจาะน้ำมัน คำถามที่ว่ามีบางคนกำลัง “เอาแผ่นดินไปแลกน้ำมัน” จึงมีสุ้มเสียงดังขึ้นตามลำดับ กระทั่งมีใบเสร็จสองใบจากผู้นำรัฐบาลกัมพูชา ใบเสร็จแรกออกมาจากรัฐมนตรีพาณิชย์เขมร ว่าฝ่ายไทยโดยใครบางคน เริ่มก่อน พยายามโยงเรื่องเขาพระวิหาเข้ากับแหล่งน้ำมันบนพื้นที่ทับซ้อนเขตเขมร “โยง” ในความหมาย เอานี่ไป-เอานั่นมา


Posted in ทัศนะ, ตามข่าว

|

Tagged ,

|
11 ความเห็น

ทุกข์จากร้านน้ำชา

เพิ่งจะเตร่ๆ ไปหาข้าวเช้ากินเมื่อตอนใกล้บ่ายสาม หวังในใจว่าคงจะมีซักร้านที่ยังขายอยู่ ปรากฏว่าร้านตามสั่งร้านประจำทั้งสองปิดหมด ปิดต่อเนื่องมาหลายวัน เหตุผลคงไม่ต้องอธิบายนะครับ ตอนนี้เป็นวิถีใหม่ไปแล้วสำหรับพ่อค้าแม่ขาย คือ หยุดขายเป็นช่วงๆ ตลาดนัดแถวบ้านผมก็เป็นแบบนี้ครับ เลือกเอาว่าที่ไหนขายได้มากหน่อยพ่อค้าแม่ค้าจะไปขาย ที่ไหนไกลก็ไม่ไปเพราะค่าน้ำมันแพง ส่วนแม่ค่าข้าวแกงตามสั่งรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแทบทุกอย่างทางเลือกที่มีคือขายบ้างหยุดบ้าง เอาแค่ให้พอมีกินไปก่อน ผมหันซ้ายหันขวาไม่รู้จะหาไรกินดี เห็นร้านขายซาลาเปา-ขนมหนมจีบก็เอาเสียสักหน่อย ร้านน้ำชาอยู่ข้างๆ สั่งน้ำชากินด้วยเลยแล้วกัน ไหนๆ ก็ไม่ซื้อกินมานานมากแล้ว สั่งชาร้อนถุงนึงแล้วก็ถามราคา “ขึ้นหรือยัง” เสียงตอบปนรอยยิ้ม “๑๒ ยังไม่ได้ขึ้น แต่ไม่ได้ขายมาหลายวันแล้ว” “นี่ น้ำตาลขึ้นเกือบ ๖ บาท นมเพิ่งขึ้นเมื่อเช้าอีก ๕ บาท” ตามด้วย “เฮลบลูบอยด์ขึ้นทีเดียวตั้ง ๔๐ บาท ขึ้นไม่ใช่น้อยๆ” เป็นเสียงปนรอยยิ้มปลงๆ “พี่ไม่ได้ขายมาหลายวัน … To be continue


Posted in เรื่องเล่า

|

Tagged ,

|
3 ความเห็น

เศรษฐศาสตร์ตลาดนัด ๔: ตายดาบนี้

วันที่ผ่านมาไม่ได้เขียนอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่ เพราะพ่อมาทำธุระที่กรุงเทพ วานนี้ตื่นตั้งแต่ก่อนตีสี่เพื่อไปรับ ไปนั่งให้ยุงรับประทานตั้งแต่ยังไม่เช้า ผมแปลกใจเรื่องยุง “หัวรุ่ง” แต่เอาไว้คุยกันคราวหลัง วานนี้หลับๆ ตื่นๆ เพราะนอนน้อย อาศัยหลับบนพื้นหน้าคอมพ์ไปงีบนึงตอนที่ข่าวบ่ายสาม ก่อนนั้นนั่งคุยกับพ่อเกี่ยวกับบรรยากาศในตลาดนัด ที่เคยบอกไปตั้งแต่บทแรกว่า ผมมองเศรษฐกิจจากพื้นฐานที่สะท้อนภาพจากของจริง ไม่ใช่ข้อมูลธนาคารชาติ สถาบันเศรษฐกิจ แหล่งแทงหวยคนรวย หรืออย่างอื่น ตลาดนัดชุมชนสะท้อนภาพจริงของความเป็นอยู่ สภาวะตลาดระดับชาวบ้านแท้ๆ ไม่ต้องพึ่งปัญญาจากตำราของนักวิชาการก็ได้ พ่อเล่าให้ฟังว่า ช่วงนี้ราคายางดี อยู่ที่ ๘๐ กว่าบาทต่อกิโล แต่ปัญหาคือตัดยางไม่ค่อยได้เพราะฝนตก และยังอยู่ในช่วงหน้าร้อนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นช่วงปิดกรีด ส่วนใครที่ตัดยางผ่าแล้งได้น้ำยางไม่มากเท่าช่วงหน้าฝนและหนาว สรุปความให้สั้นคือ ถึงยางจะแพงขึ้นแต่เอาราคาของที่ขึ้นไม่อยู่ แบกราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขึ้นพรวดๆ ไม่ไหว คนยังคงเดินตลาดนัดมากเหมือนเดิม แต่มีกำลังในการซื้อน้อยลง ซื้อของได้น้อยและไม่ค่อยซื้อยกเว้นของที่ต้องกินต้องใช้ที่จำเป็นจริงๆ ข้าวที่จากราคาไม่เท่าไหร่ ขึ้นพรวดเดียวเท่าตัว ข้าวหมาถังละห้าร้อย ข้าวคนขึ้นกับชนิดและคุณภาพ … To be continue


Posted in ทัศนะ

|

Tagged ,

|
9 ความเห็น

เศรษฐศาสตร์ตลาดนัด ๓: แพทย์แผนโบราณ

ผมเขียนเศรษฐศาสตร์ตลาดนัดไว้สองตอน คือ จตุคามฯ กับ หาตังค์มาซื้อกิน แล้วทิ้งช่วงไว้เนิ่นนาน แรกที่เดียวตั้งใจจะเขียนตอน ๓ ว่าด้วยเรื่องข้าว แต่มาสะกิดใจเรื่องวิธีคิดการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เมื่อวันอาทิตย์บังเอิญเห็นข้อความจอข้างในรายการ “สนทนาประสาสมัคร” ว่าให้ช่วยเร่งอัดฉีดเงิน รากหญ้ากำลังจะตายอยู่แล้ว ข้อความดังกล่าวทำให้เกิดคำถามว่า ๑) นี่ชาวรากหญ้า ยังยากจนอยู่หรือ ตลอดช่วงเวลาบริหารของรัฐบาลหน้าเหลี่ยม ทักษิณ ชินวัตร ปรนเปรอให้ ผมเข้าใจว่าเขามีอันจะกินกันถ้วนหน้าแล้ว ทำไมวันนี้ยังขาดเงินและร้องขอการอัดฉีดอยู่ ๒) วิธีคิดเชิงแบมือและรอคอยการช่วยเหลือลักษณะนี้แม้ดำรงอยู่มานาน แต่ทำไมระดับความรุนแรงจึงเพิ่มมากขึ้น ๓) ฐานคิดในเชิงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สองประเด็นแรกท่านหาคำตอบเองนะครับ ส่วนประเด็นที่สามผมอยากยกมาชวนคิดชวนคุย ประเทศไทยแต่ไหนแต่ไร ไม่ว่ารัฐบาลไหนยึดวิธีคิดทางเศรษศาสตร์จากตำราตะวันตก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนกรรมวิธีในการแก้ปัญหาในทุกวิกฤติถอดตะวันตกมาทั้งกระบิ ตั้งแต่เริ่มแรกในแผนพัฒนาเศรษฐกิจโน่นแหละครับ ผู้รู้ เทคโนแครตที่สลับเปลี่ยนหน้าตากุมบังเหียนเศรษฐกิจไทยแทบทุกคน เท่าที่พอจะรู้จักและจดจำหน้าตาได้ก็ไม่ต่างไปจากนี้ … To be continue


Posted in ทัศนะ

|

Tagged , ,

|
1 ความเห็น